วันอาทิตย์ที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2555

สมาคมการค้าเสรีแห่งยุโรป (EFTA)



สมาคมการค้าเสรีแห่งยุโรป

The European Free Trade Association : EFTA



ประวัติการก่อตั้ง

สมาคมการค้าเสรีแห่งยุโรป ก่อตั้งเมื่อเดือน พฤศจิกายน พ.ศ. 2502 เนื่องจากความไม่พอใจของกลุ่มประเทศในองค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจของยุโรป (Organization for European Economic Co-operation : OEEC) ที่มีต่อองค์การตลาดร่วมยุโรป (EEC) จึงแยกตัวออกมาตั้งกลุ่มการค้าใหม่ พ.ศ. 2501 เรียกว่า กลุ่มอีอีซี มีสมาชิก 7 ประเทศ คือ ออสเตรีย นอร์เว สวีเดน เดนมาร์ก สวิตเซอร์แลนด์ โปรตุเกส และสหราชอาณาจักร (เรียกว่า กลุ่ม 7 นอก) ได้ตั้งชื่อกลุ่มว่า เอฟตา และมีการประชุมครั้งแรกที่กรุงสตอกโฮม ประเทศสวีเดน ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ.2502 มีการลงนามในสัญญาความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิก และเริ่มดำเนินงานในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2503 ต่อมามีประเทศต่างๆ เข้าร่วมเป็นสมาชิกและถอนตัวออกจากการเป็นสมาชิก คือ พ.ศ.2504 และ 2513 มีประเทศฟินแลนด์ และไอซ์แลนด์ สมัครเข้าเป็นสมาชิกตามลำดับ ส่วนประเทศเดนมาร์ก สหราชอาณาจักร ขอถอนตัวออกจากเอฟตา พ.ศ.2517 และโปรตุเกสขอถอนตัว พ.ศ. 2529 เพื่อไปร่วมเป็นสมาชิกของอีอีซี
ปัจจุบัน เอฟตา มีประเทศสมาชิรวม 6 ประเทศ คือ ออสเตรีย นอร์เว สวีเดน สวิตเซอร์แลนด์ ลิกเตนสไตน์ ฟินแลนด์ ไอซ์แลนด์


วัตถุประสงค์ในการก่อตั้ง

1. เพื่อปฏิรูประบบการค้าของสินค้าอุตสาหกรรมภายกลุ่มประเทศสมาชิก
2. เพื่อกำหนดนโยบายการค้าของประเทศสมาชิกและประเทศนอกกลุ่มสมาชิก


ผลการปฏิบัติงาน


1. กำหนดข้อตกลงเกี่ยวกับการลดอัตราภาษีศุลการกรของรายการสินค้าอุตสาหกรรมของประเทศสมาชิก
2. กำหนดระบบการค้าเสรีเกี่ยวกับผลิตผลทางด้านการเกษตร
3. กำหนดมาตรการป้องกันสินค้าจากประเทศนอกกลุ่มสมาชิกที่จะนำเข้ามาขายในราคาที่ถูกกว่าสินค้าของประเทศสมาชิก โดยการจัดเก็บภาษีศุลกากรสูงกว่าประเทศในกลุ่มสมาชิก
4. ในปี พ.ศ. 2509 EFTA ยกเลิกการเก็บภาษีสินค้าทุกประเภทของกลุ่มสมาชิก
5. ในปี พ.ศ. 2520 EFTA กำหนดนโยบายทำงานโดยให้ประสานความร่วมมือกับ EEC ในการกำหนดเขตการค้าเสรีร่วมกัน



ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสมาคมการค้าเสรีแห่งยุโรป


  • ประเทศคู่ค้าที่สำคัญของประเทศไทยในกลุ่ม EFTA คือ สวิตเซอร์แลนด์ ส่วนประเทศอื่นๆที่ไทยติดต่อค้าขายด้วยคือ สวีเดน ฟินแลนด์ นอร์เวย์ และออสเตรีย

  • สินค้าออกที่สำคัญของไทยคือ อัญมณี สิ่งทอ น้ำตาลทรายดิบ สัตว์น้ำ ข้าว ประเทศที่นำเข้าอาหาร และวัตถุดิบจากประเทศไทยมากคือ สวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งเป็นประเทศที่มีทรัพยากรธรรมชาติน้อย ผลิตอาหารได้ไม่เพียงพอแก่การบริโภคภายในประเทศ มีการนำเข้าอาหารและวัตถุดิบมาก นอกจากนี้สวิตเซอร์แลนด์ยังมีนโยบายากรค้าเสรี และอัตราภาษีขาเข้าอยู่ในเกณฑ์ต่ำ ทำให้ลู่ทางการขยายตลาดของไทยเกี่ยวกับสินค้าประเภทอาหารมีมาก

  • สินค้าเข้า ที่สั่งซื้อจากกลุ่มประเทศ EFTA คือ เครื่องจักร กระดาษ เหล็ก สิ่งสกัดที่ใช้ในการฟอกหนังและย้อมสี เภสัชภัณฑ์ เคมีภัณฑ์ ยานพาหนะ


อ้างอิง

http://www.bp-smakom.org/BP_School/Social/Org-Inter/EFTA.htm
http://tc.mengrai.ac.th/angkana/sara5_files/p85.htm


น.ส.ศวิตา ประณุทนรพาล ม.5/933 เลขที่ 23



วันจันทร์ที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

อาชีพในฝัน











คณะทันตแพทย์ศาสตร์เป็นศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับเรื่องของฟันและช่องปาก ผู้ที่ศึกษาทางด้านนี้ ควรจะเป็นผู้ที่มีความรู้ทางวิทยาศาสตร์ และภาษาอังกฤษดี มีสุขภาพแข็งแรง บุคลิกดี พูดจาเก่ง มีความสามารถในการประดิษฐ์ึิดค้น และฐานะการเงินดีพอสมควร

การเรียน จะต้องเรียนทางด้านวิทยาศาสตร์ 2 ปีแรกรวมทั้งจิตวิทยาอีก 4 ปีจะเรียนภาคพลีคลีนิคซึ่งเรียนเกี่ยวกับกับกายวิภาคศาสตร์ สรีรวิทยา ชีวเคมี เภสัชวิทยา ทันตวิภาคศาสตร์ เป็นค้น แลพภาคคลินิค เป็นทันตแพทย์ภาคปฏิบัติได้แก่ การตรวจบำบัด การป้องกันโรคของฟัน การทำฟันปลอม เป็นต้น ผู้ที่จบการศึกษาทางด้านนี้จะเรียกว่าทันตแพทย์ โดยสามารถประกอบอาชีพอิสระตั้งคลินิคส่วนตัว เป็นทันตแพทย์ในโรงพยาบลาต่างๆ ในกระทรวงหรือสภากาชาดไทย หรือเป็นอาจารย์

ลักษณะของงานที่ทำ
ให้การรักษาโรค และความผิดปกติของฟันและช่องปากด้วยกาศัลยกรรม ให้ยา และวิธีการอื่นๆ ตรวจปากและฟันของผู้ป่วย ใช้เครื่องเอ็กซเรย์และทดสอบตามความจำเป็น เพื่อจะได้ทราบถึงลักษณะของความผิดปกติ พิจารณาผลของการตรวจและการทดสอบ และตกลงใจเลือกวิธีรักษา หารูฟันผุ ทำความสะอาดและอุดรูฟันผุ และถอนฟันที่เป็นโรคหรือไม่ได้ใช้ให้เกิดประโยชน์ ฟิมพ์ปากและจำลองแบบของเหงือก และส่วนอื่นๆของปาก เพื่อใช้ในการประดิษฐ์ฟันปลอม และใส่ฟันปลอม ใช้เครื่องยึดเพื่อจัดฟันที่มีลักษณะผิดปกติ หรือเให้อยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้อง รักษาโรคฟัน ป่กหรือเหงือกด้วยการใช้ยาหรือศัลยกรรม ให้ยาชาหรือวางยาสลบตามความจำเป็น อาจทำเฉพาะทางในการรักษาอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือมากกว่า





คุณลักษณะของผู้ประกอบอาชีพ
1.ด้ารการศึกษา ควรมีพื้นฐานทางด้านวิทยาศาสตร์และภาษาอังกฤษเป็นอย่างดี
2.ด้านความถนัด ควรมีความถนัดในการใช้เครื่องมือเกี่ยวกับการปั้นและการประดิฐษ์และตกแต่งฟัน จึงเป็นงานประเภทการฝีมือที่ละเอียดอ่อนประเภทหนึ่ง
3.ด้านสุขภาพและบุคลิกลักษณะ ควรมีสุขภาพดี แข็งแรงสมบูรณ์ มีบุคลิกภาพดีรู้หลักจิตวิทยา และมนุษย์สัมพันธ์ในการปรับตัวเข้ากับผู้อื่นได้ดี
4.มีฐานะทางการเงินดี เพราะต้องใช้เวลาเรียนหลายปี และมีค่าใช้จ่ายเพื่อการศึกษามาก
5.ต้องมีคุณสมบัติที่จะเข้ารับราชการได้หลังจากจบการศึกษาแล้ว

การเตรียมตัวเข้าสู่อาชีพ
เมื่อสำเร็จหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลายหรือประกาศนียบัตรอื่นที่ประทรวงศึกษาธิการเทียบเท่า และสามารถสอบผ่านวิชาต่างๆในการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา ตลอดจนการสอบสัมภาษณ์และการตรวจร่างกาย หลักสูตรวิชาทันตแพทย์ระดับปริญญาตรีตามปกติใช้เวลาเรียน 5 ปี โดยมีสถาบันที่เปิดสอนวิชาการแพทย์ระดับปริญญาหลายแห่งในสังกัดทบวงมหาวิทยาลัย เช่นมหาวิทยาลัยมหิดล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นต้น เมื่อครบหลักสูตรแล้วจะได้รับใบอนุญาตประกอบเวชกรรมของแพทยสภา มีสิทธิประกอบอาชีพแพทย์ได้ ตามกฎหมา

โอกาสในการมีงานทำ
ผู้ที่สำเร็จการศึกษาทางทันแพทย์หากมีความขยันอุตสาหะจะไม่มีการตกงาน เนื่องจากนอกเหนือจากการเข้าทำงานในโรงพยาบาลของรัฐบาลหรือเอกชนแล้ว ยังสามารถประกอบอาชีพส่วนตัวด้วยการเปิดคลินิครักษาโรคฟันได้ ซึ่งการรักษาโรคฟันรวมถึงการทำศัลยกรรมฟันด้วย

โอกาสความก้าวหน้าในอาชีพ
ผู้ที่สำเร็จการศึกษาจะต้องใช้ทุนให้กับรัฐบาลในสายงานที่เรียนมา โดยประจำอยู่ในโรงพยาบาลของรัฐ หรือสถานพยาบาล ศูนย์อนามัย ทบวง กรม ต่างๆของกระทรวงสาธารณะสุขเป็นเวลา 2 ปี เมื่อใช้ทุนแล้วจะทำงานต่อในหน่วยงานของรัฐ หรืออาจจะไปศึกษาต่อในระดับปริญญาโท และปริญญาเอก หรือเป็นอาจารย์สอนในมหาวิทยาลัย หรือประกอบอาชีพอิสระโดยตั้งคลินิครักษาเป็นส่วนตัว และทำงานในโรงพยาบาลเอกชนก็ได้ ถ้ารับราชการต่อไปก็จะได้รับการเลื่อนขั้น และเลื่อนตำแหน่งตามระเบียบของทางราชการ






อ้างอิง : http://202.29.138.73/gi/dentist.html


























วันพฤหัสบดีที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

สวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี



สวนผึ้ง เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดราชบุรี ดินแดนวัฒนธรรมลุ่มน้ำแม่กลองและสายหมอกแห่งขุนเขาตะนาวศรี เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคกลางด้านตะวันตกที่มี ภูมิประเทศหลากหลาย จากพื้นที่ที่ราบต่ำ ลุ่มแม่น้ำแม่กลองอันอุดม แหล่งเพาะปลูกพืชผักผลไม้เศรษฐกิจนานาชนิด สู่พื้นที่สูง ทิวเทือกเขาตะนาวศรีทอดตัวยาวทางทิศตะวันตกจรดชายแดนไทย-พม่า มีคำขวัญที่แสดงถึงความเป็นเอกลักษณ์ของอำเภอสวนผึ้งว่า "สาวกะเหรื่ยงเคียงถิ่นตะนาวศรี ลำภาชี แก่งส้มแมวแนวหินผา ธารน้ำร้อนบ่อคลึงตรึงติดตา น้ำผึ้งป่า หวานซึ้งตรึงใจ"


อำเภอสวนผึ้ง เดิมเป็นตำบลหนึ่งในอำเภอจองบึง เรียกว่า ตำบลสวนผึ้ง มีพื้นที่กว้างขวางมากมาย เต็มไปด้วยป่าไม้ ภูเขา การเดินทางไม่สะดวกนัก ทุรกันดาร ผู้คนที่อยู่ในท้องถิ่นนั้นส่วนใหญ่เป็นชาวไทยเชื้อสายกระเหรื่อง ต่อมารัฐบาลส่งหน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่มาพัฒนาตำบลสวนผึ้งแห่งนี้ในด้านต่างๆ ตั้งแต่เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2511-2514 ต่อมาวันที่ 15 พฤศจิกายน 2517 อำเภอจอมบึงถูกประกาศแบ่งพื้นที่ โดยกระทรวงมหาดไทยเพื่อตั้งเป็นกิ่งอำเภอ เรียกว่า กิ่งอำเภอสวนผึ้ง และหลังจากนั้นเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2526 ได้รับการยกฐานะเป็นอำเภอสวนผึ้ง



วันพุธที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

วันพฤหัสบดีที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2553

วิธีการประหยัดพลังงาน

1. ปิดไฟฟ้า 1 ดวง หรือ ถอดหลอดไฟที่ไม่ใช้ออก จะสามารถประหยัดพลังงานได้ 2,519 ล้านบาท/ปี
2. ตั้งอุณหภูมิเครื่องปรับอากาศที่ 25 องศา จะช่วยประหยัดไฟฟ้าได้ 10% และปิดก่อนเลิกใช้ 30 นาที หรือลดเวลาการเปิดแอร์ 30 นาที สามารถลดใช้พลังงานได้ 6% ซึ่งสามารถประหยัดพลังงานได้ประมาณ 2,642 ล้านบาท/ปี
3. ตั้งตู้เย็นห่างผนัง 15 เซนติเมตร จะช่วยประหยัดไฟฟ้าได้ 10% ซึ่งสามารถประหยัดพลังงานได้ 2,642 ล้านบาท/ปี
4. ปิดโทรทัศน์เมื่อไม่มีคนดู หรือเลือกใช้โทรทัศน์ขนาด 14 นิ้ว แทน 20 นิ้ว จะสามารถประหยัดพลังงานได้ 2,642 ล้านบาท/ปี
5. ใช้หลอดฟลูออเรสเซนท์ 18 วัตต์ แทนหลอดไส้ 100 วัตต์ จะสามารถประหยัดพลังงานได้ 423 ล้านบาท/ปี
6. ถอดปลั๊กเตารีดก่อนรีดเสื้อผ้าเสร็จ 2-3 นาที จะสามารถประหยัดพลังงานได้ 49 ล้านบาท/ปี
7. เสียบปลั๊กกระติกน้ำร้อนเมื่อใช้ จะสามารถประหยัดพลังงานได้ 579 ล้านบาท
8. ใช้จอคอมพิวเตอร์ 15 นิ้ว แทน 17 นิ้ว และปิดหน้าจอเมื่อไม่ใช้ จะสามารถประหยัดพลังงานได้ 92 ล้านบาท/ปี
9. อย่าเสียบปลั๊กไฟฟ้าทิ้งไว้เมื่อไม่ใช้งาน จะสามารถประหยัดพลังงานได้ 3 ล้านบาท/ปี
10. ขับรถไม่เกิน 90 กิโลเมตรต่อชั่วโมง จะสามารถประหยัดพลังงานได้ 12,150 ล้านบาท/ปี

credit:http://www2.egat.co.th/re/news.htm